พันธุ์มะพร้าวลูกผสมสามทาง ชุมพร 1
ประวัติ
มะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1 หรือ มะพร้าวลูกผสมสายพันธุ์ (เรนเนลล์ต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง) x ไทยต้นสูง ได้จากการผสมข้ามระหว่างลูกผสมเดี่ยวพันธุ์เรนเนลล์ต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (แม่พันธุ์ กับพันธุ์ไทยต้นสูง (พ่อพันธุ์ โดยแม่พันธุ์ได้จากการนำเข้าจากประเทศไอเวอรี่โคสท์ และพ่อพันธุ์ได้จากการคัดเลือกต้นในแปลงรวบรวมเชื้อพันธุกรรมด้วยวิธีการควบคุมการผสมพันธุ์แบบใกล้ชิด เมื่อปี พ.ศ. 251 7 และทำการปลูกลูกผสมเดี่ยวพันธุ์เรนเนลล์ต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง เมื่อปี พ.ศ. 2518 ดูแลรักษาแปลงแม่พันธุ์ลูกผสมเดี่ยว ระหว่างปี พ.ศ. 2519-2531 และผสมพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสม ปี พ.ศ. 2532-2533 ปลูกทดสอบลูกผสมร่วมกับลูกผสมสายพันธุ์อื่นๆ ทำการบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต องค์ประกอบของผล การตอบสนองของสายพันธุ์ต่อปุ๋ยและ ปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงที่สำคัญ และปี พ.ศ. 2562 ได้สายพันธุ์ดีนำเสนอรับรองพันธุ์กรมวิชาการเกษตร
ลักษณะประจำพันธุ์
ลำตันตั้งตรง ทรงพุ่มแบบครึ่งวงกลม ใบรูปทรงแคบยาว ใบย่อยกว้าง 6.0 เซนติเมตร ยาว 44 เซนติเมตร มีจำนวน 106 ใบ ทางใบยาว 451 เซนติเมตร ก้านทางใบยาว 67 เซนติเมตร กว้าง 8 เซนติเมตร หนา 4 เซนติเมตร มีสีเขียวอมเหลือง รอบโคนต้น มีขนาด 151.1 เซนติเมตร รอบวงต้นเหนือพื้นดินที่ระดับ 20 และ 100 เซนติเมตร มีขนาด 130 และ 86.6 เชนติเมตร ตามลำดับ จั่นมีความยาว 1 14 เซนติเมตร เส้นรอบวง 24 เซนติเมตร กาบหุ้มจั่นมีสีเขียวอมเหลือง ผลมีขนาดเส้นรอบวง 56.5 เชนติเมตร ความยาวจากขั้วผลถึงปลายผล 24.6 เซนติเมตร องค์ประกอบของผลมะพร้าวโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำหนักผล เปลือก 31.9 เปอร์เซ็นต์ กะลา 12.8 เปอร์เซ็นต์ น้ำ 26.3 เปอร์เซ็นต์ เนื้อ 29.1 เปอร์เซ็นส์ จั่นแรกบานครบ 50 เปอร์เซ็นต์ที่อายุ 5 ปี 6 เดือน อายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต 11-12 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 102 ผลต่อต้นต่อปี หรือผลผลิตเฉลี่ย 2,372 ผลต่อไร่ต่อปี น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผล 337 กรัม น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง 766 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้ง เท่ากับ 61 ผลผลิตของเนื้อมะพร้าวแห้ง 21 กิโลกรัมต่อต้น น้ำหนักเนื้อมะพร้าวสด 548 กรัม โดยมีความหนาเนื้อมะพร้าว 1.2 เซนติเมตร ผลทั้งเปลือกมีน้ำหนัก 1,882 กรัม และผลปอกเปลือกมีน้ำหนัก 1,282 กรัม
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 102 ผลต่อต้นต่อปี หรือ 2,252 ผลต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 25
2. ผลขนาดกลางถึงใหญ่ โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,882 รัมต่อผล มากกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 หรือ เกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร
3. น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ยสูง 337 รัมต่อผลต่อปี หรือ 766 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และ ลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 34 และ 53 ตามลำดับ
4. น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 61 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และคิดเป็นผลผลิตน้ำมันเฉลี่ย 21 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 31 และ 50 ตามลำดับ
พื้นที่แนะนำ
ควรปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับมะพร้าว (พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี มีช่วงแล้งติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน หรือมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 50 มิลลิมตรต่อเดือน และดินมีการระบายน้ำได้ดี พื้นที่ปลูกไม่ควรเป็นดินดาน หรือดินที่มีชั้นหินแข็งอยู่ลึกจากผิวดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร)
ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด
เนื่องจากการผลิตพันธุ์มะพร้าวเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F,) จึงไม่ควรนำผลที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อเพราะจะทำให้ได้มะพร้าวที่มีการกระจายตัว
คำแนะนำเพิ่มเติม
1. ควรปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูกระหว่างต้น 8.50 เมตร ระยะระหว่างแถว 7.36 เมตร จำนวนต้น 25 ต้นต่อไร่
2. ควรมีการให้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรจะทำให้มะพร้าวมีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตดี
วันที่รับรอง : 1 มีนาคม 2562 ประเภทพันธุ์รับรอง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
* * * * *
ข้อมูลจาก : เอกสารเผยแพร่ พันธุ์รับรอง พันธุ์แนะนำ ปี 2561-2565
โดย : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Was this helpful?
1 / 0