กัญชา : โรคราสีเทา ในต้นกัญชา

อาการผิดปกติของต้นพืชสกุลกัญชา สามารถแบ่งสาเหตุจากการเกิดขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ 1.สิ่งแวดล้อม, 2.ธาตุอาหาร, และ 3.โรคและแมลง ดังนั้นในการปลูกพืชสกุลกัญชาควรหมั่นสำรวจแปลงอยู่สม่ำเสมอ

โรคราสีเทา ในต้นกัญชา

อาการผิดปกติของต้นพืชสกุลกัญชา สามารถแบ่งสาเหตุจากการเกิดขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ 1.สิ่งแวดล้อม, 2.ธาตุอาหาร, และ 3.โรคและแมลง ดังนั้นในการปลูกพืชสกุลกัญชาควรหมั่นสำรวจแปลงอยู่สม่ำเสมออย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อประเมินอาการของความผิดปกติว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ไขได้ทันเวลา

ภาพ ลักษณะราสีเทาบริเวณช่อดอกกัญชา

โรคพืชเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ ดังต่อไปนี้
1. สาเหตุจากสิ่งมีชีวิต (Biotic pathogens) ได้แก่ เชื้อรา, แบคทีเรีย, มอลลิคิวส์, ไวรัส, ไวรอยด์, โปรโตซัว, ไส้เดือนฝอย, พืชชั้นสูงที่เป็นวัชพืช หรือ ปริสิตกับพืชปลูก

2. สาเหตุจากสิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic pathogens) ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ (แสง อุณหภูมิ ความชื้น หรือสภาพภูมิอากาศ) ที่ไม่เหมาะสม ความไม่สมดุลของฐาตุอาหารพืช สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช และสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เกิดมลภาวะ เช่น ฝุ่นละออง, ธาตุโลหะหนัก, สารพิษตกค้าง เป็นต้น

สาเหตุโรคพืชทั้งสองประเภทสามารถส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้พร้อมๆกัน หรือเสริมกัน เช่น การผิดปรกติจากสาเหตุที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตอาจส่งผลทำให้ต้นพืชมีความอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืชต่างๆได้มากขึ้น หรือในทางกลับกัน การที่พืชเป็นโรคจากเชื้อสาเหตุโรคบางชนิดอาจส่งผลกระทบทำให้ต้นพืชขาดธาตุอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโต หรือไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้

ภาพ ความเสียหายที่เกิดจากราสีเทาในส่วนของใบและช่อดอกกัญชา

ส่วนโรคราสีเทา ในกัญชา เกิดจาก

สาเหตุ

  • Botrytis spp.

อาการ

  • เชื้อราสามารถเข้าทำลาย ได้ทุกส่วนของพืชสกุลกัญชา โดยเฉพาะในส่วนของช่อดอกกัญชา พบการระบาดในช่วงที่มีความชื้นในอาหาศสูง และแพร่กระจายโดยลม ซึ่งอาการที่เกิดจาเชื้อ ในส่วนของใบกัญชาจะเกิดแผลสีน้ำตาลแห้งอย่างรวดเร็ว ส่วนลำต้นกัญชาจะเกิดแผลสีน้ำตาลแตกหักง่าย และในส่วนของช่อดอกกัญชาเมื่อเชื้อราเข้าทำลายทำให้บริเวณนั้นลักษณะแห้งและเป็นสีเทา ต่อมาพัฒนาเป็นเส้นใยสีเทาบริเวณที่ถูกทำลาย

การจัดการแก้ไข

  • การตัดแต่งกิ่งกัญชา เพื่อให้เพิ่มอากาศถ่ายเทได้ดีภายในทรงพุ่น
  • การกำจัดส่วนที่เกิดโรคออกจากแปลง โดยเฉพาะช่อดอกกัญชา
  • การฉีดพ่นด้วยสารโพแทสเซียมไบคาร์บอเนต (KHCO3) เมื่อพบอาการของโรค

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร (คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตพืชสกุลกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม)

Was this helpful?

1 / 0

error: Content is protected !!