กัญชา : การเพาะต้นกล้ากัญชา ด้วยการตัดชำ

การตัดชำ เป็นการขยายพันธุ์กัญชาแบบไม่อาศัยเพศ ซึ่งทำให้ต้นกล้ากัญชามีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ ทำให้เกิดความคงตัวของพันธุกรรมของสายพันธุ์ที่ได้ทำการคัดเลือก ประกอบกับเป็นวิธีการที่สะดวก ไม่ซับซ้อน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่เกษตรกรรายย่อยไปจนถึงฟาร์มขนาดใหญ่

การเพาะต้นกล้ากัญชา ด้วยการตัดชำ

การตัดชำ เป็นการขยายพันธุ์กัญชาแบบไม่อาศัยเพศ ซึ่งทำให้ต้นกล้ากัญชามีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ ทำให้เกิดความคงตัวของพันธุกรรมของสายพันธุ์ที่ได้ทำการคัดเลือก ประกอบกับเป็นวิธีการที่สะดวก ไม่ซับซ้อน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่เกษตรกรรายย่อยไปจนถึงฟาร์มขนาดใหญ่

ข้อดี
– ลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่ที่ได้ทำการคัดเลือก
– ลดระยะเวลาในการปลูก

ข้อจำกัด
– ขาดความแข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะในการปลูกสภาพแปลง เนื่องจากต้นกล้าที่ได้จากการตัดชำมีแต่รากแขนง (Secondary root) ไม่มีรากแก้ว (Taproot) ซึ่งแตกต่างจากต้นกล้าที่ได้จากเมล็ดมีรากแก้ว ซึ่งรากแก้วของพืชสกุลกัญชา เมื่อปลูกในสภาพแปลง สามารถหยั่งรากชึกลงในดินได้ลึกประมาณ 45-90 เซนติเมตร (Citterio et al., 2003) ทำให้สามารถดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารได้มากกว่า ส่งผลให้ทนทานต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้งได้ยาวนานกว่า

การตัดชำต้นกล้ากัญชา

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • กระถาง 2 นิ้ว
  • ภาชนะสำหรับแช่กิ่งพันธุ์
  • กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
  • ต้นแม่พันธุ์
  • เพอไรท์
  • พีทมอส
  • น้ำยาเร่งราก
  • ป้ายเขียนชื่อต้นไม้

วิธีการตัดชำต้นกล้า

ต้นแม่พันธุ์กัญชาที่นำมาใช้ในการตัดชำ

1. นำต้นแม่พันธุ์กัญชา (Mother plant) ที่ผ่านการคัดเลือกตามวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก โดยเม่พันธุ์กัญชาที่ใช้ควรมีความสูงตั้งแต่ 12 นิ้ว ขึ้นไป

 

การตัดกิ่งพืชสกุลกัญชา (บน) และกิ่งที่นำไปตัดชำ (ล่าง)

2. การเลือกกิ่งพืชสกุลกัญชา โดยมีหลักการ คือ กิ่งที่นำไปปักชำจะต้องมีตาใบ จำนวน 2 ใบขึ้นไป ตัดกิ่งทำมุม 45 องศา โดยตัดใต้ตาใบของกิ่งประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร จากนั้นนำไปแช่น้ำทันที เพื่อป้องกันการเกิดฟองอากาศอุดตันภายในท่อน้ำเลี้ยง (Embolism) ทำให้กิ่งชำเหี่ยวและตาย


การใช้วัสดุปลูกพีทมอสและเพอไรท์ ในอัตรา 60:40 โดยปริมาณ

3. เตรียมวัสดุปลูกกัญชา โดยใช้วัสดุปลูกพีทมอสและเพอไรท์ ในอัตรา 60:40 โดยปริมาตร ปลูกลงในกระถางขนาด 2 นิ้ว และรดน้ำให้ชุ่ม (การรดน้ำควรนำกระถางที่บรรจุวัสดุปลูก วางในภาชนะที่บรรจุน้ำ จากนั้นใส่น้ำลงไปในภาชนะ เพื่อให้กระถางที่บรรจุวัสดุปลูกดูดน้ำ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้วัสดุปลูกไม่กระเด็นออกจากกระถาง)

4. ตัดใบกัญชาออก 50% ในแต่ละใบของกิ่งชำเพื่อลดการคายน้ำ และนำกิ่งชำไปแช่ในน้ำยาเร่งรากที่มีส่วนประกอบของสาร 0.3% Indole-3-butyric acid (IBA)

การนำกิ่งกัญชาชำปักลงในวัสดุปลูก

5. การนำกิ่งกัญชาปักลงในกระถางที่เตรียมไว้ โดยปักชำกิ่งกัญชาลงในวัสดุปลูกให้มีความลึกอย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร

การปักชำกัญชาแบบควบแน่น โดยใช้ถุงซิป

การปักชำกัญชาแบบควบแน่น โดยใช้กล่องเพาะเมล็ดพืช

6. รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 30 นาที จากนั้นนำกิ่งชำที่ปลูกในกระถาง  ย้ายลงในภาชนะสำหรับการปักชำแบบควบแน่น เช่น ถุงพลาสติก, ถุงซิป, แก้วที่มีฝาปิด, และกล่องเพาะเมล็ดพืช และฉีดพ่นน้ำเปล่าลงบนกิ่งชำ ปิดภาชนะดังกล่าวให้สนิด ตั้งให้อยู่ภายใต้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน และจดบันทุกวันที่ปลูก

การปล่อยให้กิ่งชำกัญชาที่มีรากงอกยาวเกินไป อาจทำให้การเจริญเติบโตของต้นกล้ากัญชาหยุดชะงักเมื่อย้ายปลูก

7. กิ่งชำกัญชาจะเกิดรากภายใน 7 วันหลังจากปักชำ และทำการเจาะถุง ปรือเปิดรูระบายอากาศของภาชนะที่บรรจุกิ่งชำ เป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้ต้นพืชสกุลกัญชาปรับตัวกับสภาพอากาศภายนอก และป้องกันการช๊อกหรือชะงักการเจริญเติบโตของกิ่งชำกัญชา เมื่อนำออกจากภาชนะ การสังเกตว่ากิ่งชำกัญชาสามารถนำไปย้ายปลูกได้หรือไม่ โดยดูรากที่บริเวณก้นกระถาง หากมีรากปรากฏสามารถย้ายปลูกในภาชนะที่ใหญ่ขึ้น และไม่ควรปล่อยให้รากงอกออกจากกระถางมากเกินไป เพราะจะทำให้กิ่งชำกัญชาชะงังการเจริญเติบโต เมื่อทำการย้ายปลูก

การเพาะกล้าเมล็ดพันธุ์พืชสกุลกัญชา

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร (คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตพืชสกุลกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม)

Was this helpful?

5 / 0

error: Content is protected !!