ลักษณะทางพฤกศาสตร์ ของพืชสกุลกัญชา
การจัดหมวดหมู่ตามลักษณะของพืชสกุลกัญชา ได้ดังนี้ (Chandra et al., 2017)
Kingdom : Plantae (plants)
Subkingdom : Tracheobionta (vascular plants)
Superdivision : Spermatophyta (seed plants)
Division : Magnoliophyta (flowering plants)
Class : Magnoliopsida (dicotyledons)
Subclass : Hamamelididae
Order : Urticales
Family : Cannabaceae
Genus : Cannabis
Species : Sativa L.
การจำแนกสายพันธุ์ย่อยของพืชสกุลกัญชาในระดับ species ยังเป้นที่ถกเถียงกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การจำแนกโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphological profiles) และสารสำคัญ (chemical profiles)
การจำแนกโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (plant morphology) สามารถแยกพืชสกุลกัญชาออกได้ 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่เป็นยา (drug type) และ 2. กลุ่าที่เป็นเส้นใย (fiber type) ซึ่งกลุ่มที่เป็นยา ทรงต้นจะเป็นพุ่มรูปพีระมิด และมีกิ่งใหญ่ที่ฐานของลำต้น ในขณะที่กลุ่มเส้นใย ทรงต้นจะผอมสูง แตกกิ่งน้อย
การจำแนกในลักษณะตามแหล่งกำเนิดที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเอง (polytypic nature, multiple-species) โดยแบ่ง species เป็น 3 species คือ Cannabis sativa, Cannabis indica และ Cannabis ruderalis อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อมูลการศึกษาวิจัยทางการจำแนก โดยสัณฐานวิทยาเกี่ยวกับพืชสกุลกัญชามากขึ้น พบว่า พืชสกุลกัญชา มีความแตกต่างกันในระดับ spicies น้อยมาก (monotypic) ซึ่งทั้ง 3 species มีลักษณะใกล้เคียงกัน ซึ่งในปัจจุบันจึงใช้ชื่อว่า Cannabis sativa L. ส่วนลักษณะที่แตกต่างกันจากทั้ง 3 species ให้ใช้เป็นความแตกต่างระดับ variety ดังนี้ C. sativa L. (var. sativa, var. indica และ vai. ruderalis) (Chanda et al., 2019) ซึ่ง variety ที่มีบทบาทในการพัฒนาเพื่อปลูกเป็นการค้า และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ Sativa และ indica ส่วน ruderalis ไม่ได้มีบทบาทในการปลูกเป็นการค้า เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ THC ต่ำ แต่ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ไวแสงจึงถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์
ตารางที่ 1 แสดงลักษณะของพืชสกุลกัญชาในแต่ละ variety
Sativa
– ความสูง : ต้นสูง เฉลี่ย 1.5-4.5 เมตร
– ข้อใบ (node) : ข้อใบห่าง (ระยะห่างระหว่างข้อ 0.07-0.15 เมตรต่อข้อ)
– ใบ : ใบเรียวแหลม ไม่มีลาย
– แผ่นใบ (blade) : มีจำนวนแฉก 6-12 แฉก/ใบ
Indica
– ความสูง : ต้นเตี้ย เฉลี่ย 0.15-1.5 เมตร
– ข้อใบ (node) : ข้อใบสั้น (ระยะห่างระหว่างข้อน้อยกว่า 0.07 เมตรต่อข้อ)
– ใบ : ใบกว้าง สั้น และกลม และมีลายลักษณะคล้ายหินอ่อน
– แผ่นใบ (blade) : มีจำนวนแฉก 3-7 แฉก/ใบ
Ruderalis
– ความสูง : ต้นเตี้ย เฉลี่ย 0.15-1.5 เมตร
– ข้อใบ (node) : ข้อใบสั้น และถี่กว่า indica
– ใบ : ใบเล็ก หนา
– แผ่นใบ (blade) : มีจำนวนแฉก 4-6 แฉก/ใบ
ภาพที่ 1 ลักษณะต้น และใบ ของ Sativa และ Indica types
ในส่วนของการจำแนกตามลักษณะสารสำคัญ สามารถแบ่งตามลักษณะของสารสำคัญ คือ delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) ที่ปรากฎซึ่งสามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ 3 รูปแบบ
1. รูปแบบการใช้ประโยชน์เป็นยา (drug type) มีส่วนของสาร THC มากกว่า 1.0% และสาร CBD น้อยกว่า 0.5%
2. รูปแบบผสม (intermediate type) มีส่วนของสาร CBD เป็นส่วนใหญ่ และมีสัดส่วนของ THC ที่แตกต่างกัน
3. รูปแบบการใช้ประโยชน์จากเส้นใย (fiber type หรือ hamp) มีส่วนของสาร THC ปริมาณต่ำกว่า 1.0%
ซึ่งกฎหมายของไทยใช้ปริมาณของสาร THC เป็นเกณฑ์ในการจำแนกระหว่างกัญชาและกัญชง ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ดังนี้
กัญชา : มีปริมาณสาร THC ในช่อดอกมากกว่า 1.0% โดยน้ำหนักแห้ง
กัญชง : มีปริมาณสาร THC ในช่ดอกไม่เกิน 1.0% โดยน้ำหนักแห้ง
และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 พ.ศ. 2563 ที่เกี่ยวข้องกับพืชสกุลกัญชา ดังนี้
กัญชา (Cannabis)
พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
(ก) เปลือก ลำต้น เส้นใจ กิ่งก้าน และราก
(ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือข่อดอกติดมาด้วย
(ค) สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบ และต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักแห้ง
(ง) กากหรือเศษเหลือจากการสกัดกัญชา ต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักแห้ง
กัญชล (Hemp)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa เป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5
(ก) เปลือก ลำต้น เส้นใจ กิ่งก้าน และราก
(ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือข่อดอกติดมาด้วย
(ค) สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบ และต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักแห้ง
(ง) เมล็ดกัญชง (hemp seed) น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) หรือ สารสกัดจากเมล็ดกัญชง (hemp seed extract)
(จ) กากหรือเศษเหลือจากการสกัดกัญชง ต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักแห้ง
ต้นพืชสกุลกัญชาเป็นพืชที่มีลักษณะ dioecious plant ซึ่งเป็นลักษณะที่พืชมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น ซึ่งในการแยกความแตกต่างของต้นตัวเมียและต้นตัวผู้ไม่สามารถทำได้ ยกเว้นการเข้าสู่ระยะ pre-flowering ที่แสดงความแตกต่างของลักษณะดอกเพศผู้และเพศเมียได้ชัดเจน พืชสกุลกัญชาเป็นพืชวันสั้น (short day plants) โดยมีปัจจัยเรื่องของแสงเข้ามามีผลต่อการเจริญเติบโตในระยะต่างๆ สามารถแบ่งระยะการเจริญเติบโตเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น (vegetative stage) ภายใต้สภาวะเมื่อได้รับแสง 14-20 ชั่วโมงต่อวัน
2. ระยะออกดอก (flowering stage) ภายใต้สภาวะเมื่อได้รับแสงน้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อชักนำให้เกิดตากอก ซึ่งจะนำไปสู่การให้ช่อดอกพืชสกุลกัญชา
พืชสกุลกัญชามีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน และได้กระจายการปลูกไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ทำให้มีชื่อเรียกพืชชนิดนี้อย่างหลากหลายตามแหล่งปลูก และภาษาของประเทศนั้นๆ (Chanda et al., 2017)
พืชสกุลกัญชาเรียกชื่อตามภาษาต่างๆ
ไทย : กัญชา, กัญชง
จีน : Xian ma, Ye ma
ญี่ปุ่น : Mashinin
เดนมาร์ก : Hemp
เนเธอร์แลนด์ : Hennep
โปรตุเกส : Canhamo, Maconha
ฝรั่งเศษ : Chanvre, Chanvre d’Inde, Chanvre indien, Chanvrier
มาเลเซีย, อินโดนีเซีย : Ganja
เยอรมันนี : Hanf, Haschisch, Indischer Hanf
รัสเซีย : Hannabis Sativa
สเปน : Mariguana, Marijuana
อังกฤษ : Hemp, Marihuana
อาหรับ : Al-Bhango, Al-Hashish, Al-Qanaap
อินเดีย : Bhang, Charas, Ganja
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร (คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตพืชสกุลกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม)
Was this helpful?
1 / 0