สับปะรด เพชรบุรี 2

สับปะรด พันธุ์เพชรบุรี 2 (Pineapple Phetchaburi 2) หรือสับปะรดสายต้น Clone 10 เป็นผลไม้สายต้นที่ได้รับจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อ 21 เมษายน 2533 เป็นสับปะรดกลุ่ม Smooth cayenne

สับปะรด พันธุ์เพชรบุรี 2

ประวัติ
สับปะรด พันธุ์เพชรบุรี 2 (Pineapple Phetchaburi 2) หรือสับปะรดสายต้น Clone 10 เป็นผลไม้สายต้นที่ได้รับจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อ 21 เมษายน 2533 เป็นสับปะรดกลุ่ม Smooth cayenne ซึ่งได้รับมาในครั้งแรกจำนวน 4 Clone ได้แก่ Clone 8, Clone 10, Clone 13 และ Clone 30 เมื่อทดลองปลูกที่สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรีพบว่าสายต้น Clone 10 ผลเป็นทรงกระบอก ตาตื้น และแกนเล็กเหมาะสำหรับการนำไปแปรรูป จึงขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วปลูกเป็นพื้นที่ใหญ่เพื่อศึกษาการปรับตัวในสภาพแวดล้อมพร้อมกับคัดเลือกต้นที่มีลักษณะผิดปกติออกให้คงเหลือเฉพาะต้นที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์จากนั้น ปี 2544–2547 ดำเนินการปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ปัตตาเวีย และนางแล ณ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเพชรบุรี ปี 2554–2562 ทดสอบพันธุ์ในแหล่งปลูก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง

ลักษณะประจำพันธุ์
ต้นการเจริญเติบโตแบบกึ่งตั้งตรง ใบมีขนาดยาว 61.6 เซนติเมตร กว้าง 5.1 เซนติเมตร สีเขียวบนแผ่นใบด้านบนปานกลางการปรากฏแอนโทไซยานินบนใบด้านบนปานกลาง ไม่ปรากฏใบปิง มีหนามที่ขอบใบ ความหนาแน่นของหนามบนขอบใบเบาบาง หนามบนขอบใบบริเวณปลายใบเท่านั้น หนามที่ใบสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กและรูปร่างรูปฟันเลื่อย ช่อดอก (Inflorescence) : ขนาดของใบประดับ (size of bracts) ใหญ่ ปลายกลีบดอกสีม่วงน้ำเงิน ผลที่ไม่แก่ทางสรีรวิทยา (Immature fruits) มีสีเขียวเข้ม ก้านผลมีสีเขียว ขนาดยาว 16.9 เซนติเมตร กว้าง 2.57 เซนติเมตร ไม่มีหน่อตะเกียง จุกมีจำนวนของจุก 1 จุก มุมตั้งตรง รูปทรงผลเป็นรูปทรงขอบขนาน (oblong) ผลมีขนาดยาว 15.2 เซนติเมตร กว้าง 12.4 เซนติเมตร สีหลักของผลสีเหลือง ความลึกของตา 0.72 เซนติเมตร ผลย่อยมีลักษณะแบน เส้นผ่านศูนย์กลางของแกน 2.35 เซนติเมตร เนื้อมีสีเหลือง ความหนาแน่นของเนื้อมีลักษณะแน่น มีความฉ่ำน้ำมาก มีเส้นใยน้อย กลิ่นของเนื้อปานกลาง มีปริมาณกรด 0.56 เปอร์เซ็นต์ ความหวาน 15.9 องศาบริกซ์ ก่อนบังคับออกดอก ต้นสูง 71.2 เซนติเมตร กว้าง 86.2 เซนติเมตร และใบ D-leaf มีขนาดกว้าง 5.1 เซนติเมตร ยาว 61.6 เซนติเมตร น้ำหนักผลรวมจุกและก้าน 1.50 กิโลกรัม น้ำหนักผล 1.14 กิโลกรัม ความยาวผล 15.2 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางผล 12.4 เซนติเมตร canning ratio 0.96 length ratio 1.20 เส้นผ่านศูนย์กลางแกน 2.35 เซนติเมตร ความลึกตา 0.72 เซนติเมตร ผลผลิตทั้งหมด 13.14 ตันต่อไร่ ผลผลิตเฉพาะน้ำหนักผล 9.31 ตันต่อไร่

ลักษณะเด่น
1. อัตราส่วนน้ำหนักเนื้อ : น้ำหนักผลเฉลี่ย 0.29 สูงกว่าพันธุ์ปัตตาเวียร้อยละ 26

2. แกนเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางแกน 2.17–2.87 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์ปัตตาเวียร้อยละ 13.3–15.3

3. ผลทรงกระบอก Canning ratio 0.93–0.99 เหมาะสำหรับการบรรจุกระป๋อง

4. ความหวานเฉลี่ย 13.9–17.9 องศาบริกซ์ หวานกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย 14.4 องศาบริกซ์

5. ตาตื้น ความลึกตาเฉลี่ย 0.73 0.81 เซนติเมตร

6. ผลผลิตเทียบเท่ากับพันธุ์ปัตตาเวีย ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ

พื้นที่แนะนำ
เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่สภาพการผลิตสับปะรดทั่วไป

ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด
ควรมีการบริหารจัดการศัตรูโรคเหี่ยวสับปะรด : แช่หน่อพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งพาหะนำโรคเหี่ยวสับปะรดก่อนปลูก และใช้หน่อจากแหล่งที่ไม่พบโรคเหี่ยวสับปะรดระบาด

คุณค่าและการใช้ประโยชน์
สำหรับแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง

วันที่รับรอง : 15 สิงหาคม 2562 ประเภทพันธุ์แนะนำ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร

* * * * *

ข้อมูลจาก : เอกสารเผยแพร่ พันธุ์รับรอง พันธุ์แนะนำ ปี 2561-2565
โดย : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Was this helpful?

1 / 0

error: Content is protected !!