กัญชา : โรคเน่าคอดิน ในต้นกัญชา

อาการผิดปกติของต้นพืชสกุลกัญชา สามารถแบ่งสาเหตุจากการเกิดขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ 1.สิ่งแวดล้อม, 2.ธาตุอาหาร, และ 3.โรคและแมลง ดังนั้นในการปลูกพืชสกุลกัญชาควรหมั่นสำรวจแปลงอยู่สม่ำเสมอ

โรคเน่าคอดิน ในต้นกัญชา

อาการผิดปกติของต้นพืชสกุลกัญชา สามารถแบ่งสาเหตุจากการเกิดขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ 1.สิ่งแวดล้อม, 2.ธาตุอาหาร, และ 3.โรคและแมลง ดังนั้นในการปลูกพืชสกุลกัญชาควรหมั่นสำรวจแปลงอยู่สม่ำเสมออย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อประเมินอาการของความผิดปกติว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ไขได้ทันเวลา

โรคพืชเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ ดังต่อไปนี้
1. สาเหตุจากสิ่งมีชีวิต (Biotic pathogens) ได้แก่ เชื้อรา, แบคทีเรีย, มอลลิคิวส์, ไวรัส, ไวรอยด์, โปรโตซัว, ไส้เดือนฝอย, พืชชั้นสูงที่เป็นวัชพืช หรือ ปริสิตกับพืชปลูก

2. สาเหตุจากสิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic pathogens) ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ (แสง อุณหภูมิ ความชื้น หรือสภาพภูมิอากาศ) ที่ไม่เหมาะสม ความไม่สมดุลของฐาตุอาหารพืช สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช และสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เกิดมลภาวะ เช่น ฝุ่นละออง, ธาตุโลหะหนัก, สารพิษตกค้าง เป็นต้น

สาเหตุโรคพืชทั้งสองประเภทสามารถส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้พร้อมๆกัน หรือเสริมกัน เช่น การผิดปรกติจากสาเหตุที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตอาจส่งผลทำให้ต้นพืชมีความอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืชต่างๆได้มากขึ้น หรือในทางกลับกัน การที่พืชเป็นโรคจากเชื้อสาเหตุโรคบางชนิดอาจส่งผลกระทบทำให้ต้นพืชขาดธาตุอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโต หรือไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้

ภาพ อาการที่เกิดจากโรคเน่าคอดินของกล้ากัญชา

ส่วนโรคเน่าคอดินในกัญชา เกิดจาก

สาเหตุ

  • Pythium spp.

อาการ

  • เชื้อราเข้าทำลายบริเวณลำต้นกล้ากัญชาในส่วนของโคนต้นระดับดิน ทำให้ต้นอ่อนกัญชาเกิดแผล และเน่าแห้งไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ต้นกล้ากัญชาหักพับตาย

การจัดการแก้ไข

  • ใช้วัสดุปลูกเพาะที่สะอาดปราศจากเชื้อก่อโรค
  • การแช่เมล็ดในน้ำอุ่นประมาณ 50 องศาเซลเซียส (การเตรียมน้ำอุ่นโดยต้นน้ำให้เดือดแล้วเติมน้ำธรรมดาลงไปหนึ่งเท่า) แช่เมล็ดกัญชานาน 20-30 นาที
  • การใช้เชื้อ Trichoderma spp. 15-25 กรัม ต่อต้น หรือ 50-100 กรัม ต่อตารางเมตร หรือ Trichoderma + รำข้าว + ปุ๋ยคอก 1:4:10 โดยน้ำหนัก ในอัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน แล้วนำส่วนผสมของเชื้อราดังกล่าวโรยลงดินในพื้นที่รัสมีทรงพุ่ม หรือใช้รองกันหลุมก่อนเพาะเมล็ดกัญชา
  • ใช้สารเคมี อีโตรไดอะโซล (Etridiazole) + ควินโตซีน (Quintozene) 6% + 24% W/V EC 30-40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดดินทุก 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง
  • ใช้สารเคมี อีไตรไดอะโซล (Etridiazole) 24% W/V EC 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดดินทุก 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร (คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตพืชสกุลกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม)

Was this helpful?

5 / 0

error: Content is protected !!