อาการขาดธาตุแมกนีเซียม ของต้นกัญชา
อาการผิดปกติของต้นพืชสกุลกัญชา สามารถแบ่งสาเหตุจากการเกิดขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ 1.สิ่งแวดล้อม, 2.ธาตุอาหาร, และ 3.โรคและแมลง ดังนั้นในการปลูกพืชสกุลกัญชาควรหมั่นสำรวจแปลงอยู่สม่ำเสมออย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อประเมินอาการของความผิดปกติว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ไขได้ทันเวลา
อาการขาดธาตุแมกนีเซียม ของต้นกัญชา เกิดจากอาการผิดปกติ ที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร ของต้นกัญชา
อาหารผิดปกติที่เกิดจากธาตุอาหาร สามารถสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ 2 ส่วน คือ 1. อาการผิดปกติที่ใบอ่อน เกิดจากธาตุโบรอน แคลเซียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โมลิบดีนัม และสังกะสี เนื่องจากเป็นธาตุอาหารที่ไม่เคลื่อนย้ายภายในลำต้น, และ 2. อาการผิดปกติที่ใบแก่ เกิดจากธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ดังนั้นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นสามารเป็นแนวทางในการวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหาร
อาการขาดธาตุแมกนีเศียมของต้นกัญชา จะแสงอาการขาดธาตุในใบแก่ (ใบล่าง)
สาเหตุ
- ขาดธาตุแมกนีเซียม
อาการ
- ปรากฏในใบแก่ โดยเส้นใบและบริเวณกลางใบมีสีเขียว แต่บริเวณขอบใบมีสีเหลือง และหากมีอาการรุนแรงขอบปลายใบจะไหม้และแห้ง
การจัดการแก้ไข
- ทำการฉีดพ่นปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต (ตามฉลากแต่ละยี่ห้อ)
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร (คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตพืชสกุลกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม)
Was this helpful?
1 / 0